Wednesday 31 October 2018

โค้ดดิ้ง สกิล ทักษะที่สําคัญแห่งอนาคต

หนึ่งในนโยบายของรัฐบาลคือ การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 โดยสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ในระบบดิจิทัล ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้มุ่งสู่ระบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ และภาษาต่างประเทศ ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์(Coding) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา

Coding Skill คือทักษะที่สําคัญแห่งอนาคต ที่เป็นทักษะพื้นฐานที่หลายประเทศทั่วโลกมีนโยบายให้เยาวชนของประเทศต้องมีความสามารถในการเรียนรู้และต่อยอด อันจะเป็นกุญแจสําคัญในการสร้างธุรกิจ ที่เป็น New S-Curve ใหม่ๆ ในอนาคต ว่ากันว่ายิ่งสามารถสร้างเยาวชนของชาติให้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้ได้มากเท่าไร อนาคตของประเทศไทยจะมีโอกาสสดใสและเติบโตมากเท่านั้น

ในอนาคตอันใกล้ Coding จะไม่ใช่แค่ทางเลือกของผู้สนใจเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ได้เข้าไปอยู่ในองค์ประกอบต่างๆ ในการใช้ชีวิต และสร้างธุรกิจในอนาคต เพราะเป็นพื้นฐานของความเข้าใจกระบวนการคิด และการสื่อสารอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาอื่นๆ ทั้งความเข้าใจทั้งด้านหุ่นยนต์, IoT, Machine Learning หรือปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต

กระบวนการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการกระตุ้นให้เกิดความกระหายใคร่รู้แบบสาระบันเทิง (Edutainment) และการเล่น (Gamification) ที่จะช่วยกระตุ้นความสนใจ (Curiosity) เปิดโอกาสให้เยาวชนนําความรู้มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ ความสนุก การแข่งขัน ซึ่งจะทําให้เกิดทั้งความภาคภูมิใจและอยากพัฒนาด้วยตนเองต่อไป เป็นสิ่งสําคัญในการสร้างหัวใจของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Monday 29 October 2018

ทำอย่างไร ให้ลูกเรียนเก่ง?

ทำอย่างไร ให้ลูกเรียนเก่ง?

1. ปลูกฝังให้รักการอ่าน
ไม่ได้หมายความว่าต้องบังคับให้ลูกอ่านหนังสือ หรือท่องตำราเรียน แต่นิสัยรักการอ่าน ต้องเริ่มสร้างกันตั้งแต่เด็กเริ่มสื่อสารได้เลย คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านนิทานให้ลูกฟังบ่อย ๆ หรือแม้แต่เวลาออกไปนอกบ้าน ก็สามารถอ่านชื่อร้านอาหาร หรือป้ายโฆษณาให้ลูกฟัง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มนุษย์จะสามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีที่สุดเมื่อได้รับข้อมูลด้วยประสาทสัมผัส 2 ส่วนขึ้นไป เช่น ฟังและดูภาพประกอบ หรือดูและวาดเขียนตาม
คุณควรชมลูกเมื่อเขาสามารถจำสัญลักษณ์หรือโลโก้ยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นสมองของลูกให้รู้จักเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ฝึกให้เด็กมีจินตนาการ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เขาอยากเรียนรู้ที่จะอ่านอีกด้วย
2. ฝึกสมาธิ
คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มฝึกให้ลูกทำสมาธิได้ตั้งแต่อายุ 5-6 ขวบ เพราะยังเป็นช่วงอายุที่จิตใจยังผุดผ่อง ไม่มีเรื่องวุ่นวายกวนใจ จึงฝึกได้ง่ายกว่าตอนโต การให้เด็กฝึกนั่งสมาธิเพียงแค่วันละ 15 นาที โดยกำหนดลมหายใจเข้าออก จะสามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี สามารถจดจำและเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้อย่างรวดเร็ว และสามารถจดจำสิ่งที่คุณครูสอนในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี
3. กำหนดเวลานอน
การนอนของลูก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลยหรือปล่อยผ่าน เวลานอนเป็นสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักจะตามใจเมื่อลูกโตขึ้นถึงช่วงอายุหนึ่ง แต่คุณควรจะให้ลูกเข้านอนเป็นเวลาทุกวัน (อาจจะปล่อยให้นอนดึกขึ้นได้สักชั่วโมงในวันหยุด) อย่างน้อยจนถึงอายุ 10 ขวบ เด็กควรนอนประมาณ 9-10 ชั่วโมงทุกวัน และเข้านอนไม่เกิน 3 ทุ่ม เพื่อให้โกรว์ธฮอร์โมนซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้สมองปรอดโปร่ง ตื่นนอนเป็นเวลา ซึ่งก็จะทำให้หมดปัญหากับการขุดลูกออกจากเตียงทุกเช้า
4. ทำกิจกรรมหลากหลาย
อย่ามัวให้ลูกน้อยขลุกอยู่แต่กับมือถือ แท็บเลต ทีวี เกมคอมพิวเตอร์ หรืออัดตารางเรียนพิเศษแน่น ๆ ให้ลูก แต่เด็ก ๆ ควรมีโอกาสได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น ดนตรี กีฬา สันทนาการ เพื่อที่เขาจะได้พัฒนาทักษะทั้งด้านร่างกาย สังคมและจิตใจอย่างเหมาะสม
คุณควรมีเวลาพาลูกออกไปเล่นนอกห้องเรียนบ้าง อย่างไรก็ตาม แม้เมืองไทยจะเป็นเมืองร้อน แต่คุณก็ไม่ควรพาลูกไปอยู่แต่ในห้างสรรพสินค้า ลองเปลี่ยนบรรยากาศไปสวนสาธารณะ สนามกีฬาใกล้บ้าน วัด พิพิธภัณฑ์หรือสถานที่อื่น ๆ ดู เด็ก ๆ อาจจะค้นพบความสามารถหรือความสนใจเฉพาะด้านเพิ่มเติมจากกิจกรรมเหล่านี้ก็เป็นได้
5. ช่วยทำงานบ้าน
หลายคนอาจจะสงสัยว่าการช่วยทำงานบ้านจะทำให้ลูกเรียนเก่งขึ้นได้อย่างไร แต่การมอบหมายหน้าที่ให้ลูกช่วยทำงานบ้านง่าย ๆ เช่น เก็บของเล่น เก็บที่นอน ล้างผักผลไม้ หรือกรอกน้ำ จะเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ รู้จักแบ่งเวลา เรียงลำดับความสำคัญของงาน และรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อโตขึ้นเขาก็จะรู้ว่าเวลาใดต้องทำการบ้าน ทำงานบ้าน อ่านหนังสือ หรือออกไปเที่ยวเล่น
ที่มา link

Monday 1 October 2018

รู้จักกับ! โลกของการเขียนโปรแกรม ที่เริ่มได้ตั้งแต่ชั้นประถม

“เขียนโปรแกรม” หรือการเขียนโค้ด แค่ได้ยินชื่อคนทั่วไปอย่างเราก็พากันส่ายหน้ากับความซับซ้อนของมันกันแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ ในอนาคตซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยี หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ การเขียนโปรแกรมจะมีผลต่อชีวิตของเราเป็นอย่างมาก และเรื่องน่าตกใจก็คือ “เด็กประถม” ก็สามารถเริ่มต้นเขียนโปรแกรมกันได้


เมื่อได้ศึกษาเกี่ยวกับวงการนี้ ทำให้เราพบว่า มีเด็กอีกมากมายที่เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมตั้งแต่อายุยังไม่แตะเลขสองหลัก
วันนี้เราได้พูดคุยกับ น้องจีโน่ เด็กไทยที่นอกจากจะเริ่มเขียนโปรแกรมตั้งแต่ 6 ขวบ ยังได้เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์อีกด้วย

เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมได้อย่างไร
จีโน่ : ตอนนั้นอยากทำอะไรบางอย่างบนเว็ปให้ผู้คนเล่น จนได้ไปเจอกับโปรแกรม Scratch แล้วก็เริ่มศึกษาเปิด tutorial จาก youtube แล้วทำตาม ซึ่งไม่ยากนะถ้าจะเริ่มเรียนรู้ อันไหนที่ไม่เข้าใจก็มีถามคนอื่นบ้าง 
Scratch แอปพลิเคชันที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในรูปแบบใช้งานง่าย เราสามารถที่จะใช้ Scratch เพื่อโปรแกรม games, stories, and animation
:: การเรียนรู้ Scratch ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปต่อยอดในการเรียนรู้ภาษาในระดับสูงขึ้น เช่น Ruby, PHP, and Python เป็นต้น นอกจากนี้การเรียนรู้Scratch ยังเป็นการพัฒนาทักษะ ด้านการออกแบบ การคิดวิเคราะห์ การร่วมมือช่วยเหลือกัน การสื่อสาร และด้านโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ::

อ้างอิง https://www.parentsone.com/young-programmer/

โค้ดดิ้ง สกิล ทักษะที่สําคัญแห่งอนาคต

หนึ่งในนโยบายของรัฐบาลคือ การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 โดยสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ในระบบดิจิทัล ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้มุ่งสู่ระบบก...